วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

What is Product?



1. A good, idea, method, information, object or service created as a result of a process and serves a need or satisfies a want. It has a combination of tangible and intangible attributes (benefits, features, functions, uses) that a seller offers a buyer for purchase. For example a seller of a toothbrush not only offers the physical product but also the idea that the consumer will be improving the health of their teeth.
2. Law: A commercially distributed good that is (1) tangible personal property, (2) output or result of a fabrication, manufacturing, or production process, and (3) passes through a distribution channel before being consumed or used.
3. Marketing: A good or service that most closely meets the requirements of a particular market and yields enough profit to justify its continued existence. As long as cars are manufactured, companies such as Michelin that produce tires fill the market need and continue to be profitable.



                          
 ความหมาย ของผลิตภัณฑ์

          ผลิตภัณฑ์ (Product)
            หมายถึง สินค้า หรือบริการ ที่ผู้ประกอบการสามารถผลิต หรือ จัดหาเพื่อสนองความต้องการของ ตลาดได้
            ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ หมายถึง ตัวสินค้ารวมกับความพึงพอใจ และผลประโยชน์อื่นที่ผู้บริโภคได้รับจาก การซื้อสินค้านั้น รวมถึงการบรรจจุหีบห่อ และยี่ห้อผลิตภัณฑ์ที่นำออกสู่ตลาด ต้องมีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับ ของผู้บริโภค
ระดับหรือองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ (Levels of product / product component)
ผลิตภัณฑ์สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ หรือ 5 องค์ประกอบด้วยกัน คือ
1.       Core Product (ผลิตภัณฑ์หลัก) คือ ประโยชน์พื้นฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการซื้อสินค้านั้นโดยตรง
2.       Tangible or Formal Product (รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์) คือ ลักษณะทางกายภาพที่ผู้บริโภคสามารถสัมผัสหรือรับรู้ได้ ประกอบด้วย
          2.1 ระดับของคุณภาพ (Quality level)
          2.2 รูปร่างลักษณะ (Features)
          2.3 การออกแบบ (Design)
          2.4 บรรจุภัณฑ์ (Packaging)
          2.5 ชื่อตราสินค้า (Brand name)
3.        Expected Product (ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง) คือ คุณสมบัติหรือเงื่อนไขที่ผู้ซื้อคาดหวังว่าจะได้รับจากการซื้อสินค้า หรือเป็นข้อตกลงในการซื้อสินค้า
4.       Augmented Product (ผลิตภัณฑ์ควบ) คือ ผลประโยชน์เพิ่มเติมที่ผู้ซื้อจะได้รับควบคู่ไปกับการซื้อสินค้านั้นๆ ตัวอย่างเช่น
          4.1 การให้บริการติดตั้ง (Installation)
          4.2 การขนส่ง (Transportation)
          4.3 การรับประกัน (Insurance)
          4.4 การให้สินเชื่อ (Credit)
5.       Potential Product (ศักยภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์) คือ ส่วนของผลิตภัณฑ์ควบที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไป เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าในอนาคต
ประเภทของผลิตภัณฑ์ (Product classification)
ผลิตภัณฑ์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ผลิตภัณฑ์บริโภคและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ประเภทของผลิตภัณฑ์  ประเภทของผลิตภัณฑ์ แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการซื้อของผู้ซื้อ สามารถ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 ผลิตภัณฑ์บริโภค (Consumer product) หมายถึงสินค้า หรือบริการ ที่ซื้อโดยผู้บริโภคขั้นสุดท้าย (Final consumer)
กลุ่มที่ 2 ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(Industrial product) หมายถึง สินค้าหรือบริการที่บุคคล องค์การซื้อ เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าอื่น หรือใช้ใน การประกอบธุรกิจ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมีเป้าหมายที่ตลาดอุตสาหกรรม ผู้ซื้อที่ ซื้อไปเพื่อการผลิตให้บริการหรือดำเนินงานของกิจการซึ่งส่วนใหญ่คือองค์
การหรือ ผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม

Product Life Cycle วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
Product Life Cycle คือ การอธิบายให้เห็นว่าสินค้าโดยทั่วไปนั้น มีการเติบโตของยอดขายอย่างไรตั้งแต่ช่วงแรกของการเข้าสู่ตลาดจนถึงช่วงที่ยอดขายขึ้นสู่จุดสูงสุดและค่อยๆลดลง จนถึงจุดจบของสินค้าตัวนั้นๆ คือการออกไปจากตลาด Product Life Cycle ประกอบด้วย 4 ช่วงเวลา โดยการกำหนดกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mixs)สำหรับสินค้าในแต่ละช่วงของ Product Life Cycle มีความแตกต่างกันอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่อง Promotion ซึ่ง Product Life Cycle นั้น ประกอบไปด้วย

1.       Introduction (ช่วงแนะนำสินค้าสู่ตลาด) เป็นช่วงแรกของการวางตลาดเพื่อขายสินค้าดังกล่าว ช่วงนี้สินค้าจะยังไม่เป็นที่รู้จักของลูกค้า จึงจำเป็นต้องทำการตลาดเพื่อแนะนำสินค้าสู่ตลาดด้วยวิธีการต่างๆ เช่น โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขาย ฯลฯ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง ยอดขายยังต่ำ และมีการเติบโตอย่างช้าๆ 
2.        Growth (ช่วงสินค้าได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว) เป็นช่วงที่ 2 หลังจากทำการตลาดในช่วงแรกไปแล้ว เมื่อลูกค้าเริ่มรู้จักสินค้าทดลองใช้ และบอกต่อ ร้านค้าต่างๆ ที่เป็นช่องทางการจัดจำหน่ายเริ่มรู้จักและแนะนำให้ลูกค้าทำให้ยอดขายสินค้าเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับช่วงแรก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีค่าใช้จ่ายสูงในการทำตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้สินค้าติดตลาด  
3.       Maturity (ช่วงสินค้าติดตลาด) เป็นช่วงที่ 3 หลังจากลูกค้าได้ทดลองใช้และพอใจในสินค้า ก็เริ่มใช้เป็นประจำจึงมียอดขายอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันความจำเป็นในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ก็ลดลง เนื่องจากสินค้าเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้ว ทำให้ค่าใช้จ่ายในการทำตลาดลดลงกว่าช่วงแรกและช่วงที่ 2 ทำให้เป็นช่วงที่สร้างกำไรได้มากที่สุด
4.       Decline (ช่วงสินค้าตกต่ำ) เป็นช่วงที่ 4 ซึ่งถือว่าเป็นช่วงสุดท้ายในวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เมื่อสินค้าติดตลาดเป็นที่ต้องการของลูกค้า ย่อมมีคู่แข่งเข้ามาทำตลาดสินค้าแบบเดียวกัน ลูกค้าประเภทที่ไม่มีความจงรักภักดีต่อตราสินค้าก็จะไปทดลองสินค้าใหม่ และอาจมีบางส่วนที่เลิกใช้สินค้าเดิมไปเลย ทำให้ยอดขายของสินค้าตกลงเรื่อยๆ ลูกค้าใหม่ก็แทบไม่มีเนื่องจากสินค้าลดการทำตลาดลงตั้งแต่ช่วงที่ 3 แล้ว ทำให้ไม่ได้ยอดขายจากกลุ่มลูกค้าใหม่ ในขณะที่ยอดขายจากกลุ่มลูกค้าเก่าลดลง จึงเป็นช่วงที่สินค้าเริ่มตกต่ำ และค่อยๆ หายไปจากตลาดในที่สุด     

กลยุทธ์โดยทั่วไปในการทำ Promotion เมื่อพิจารณาถึง Product Life Cycle
1.ช่วง Introduction เป็นช่วงที่ต้องการสร้างการรับรู้สินค้าใหม่ สร้างความสนใจและความแตกต่างในคุณสมบัติของสินค้า สร้างการทดลองซื้อ มีการตอกย้ำบ่อยๆ จนผู้บริโภคเกิดความเชื่อว่าสินค้าดี น่าทดลองใช้ ตัวอย่างกลยุทธ์ที่ใช้ในช่วงนี้ได้แก่ โฆษณาทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ใช้รถโฆษณา จัดประชาสัมพันธ์ ณ จุดขายต่างๆ หรือแจกตัวอย่างสินค้า
2. ช่วง Growth เป็นช่วงที่ต้องทำให้ผู้บริโภคที่ทดลองใช้แล้วให้จดจำสินค้าได้ ให้ซื้อซ้ำจนมั่นใจว่าผู้บริโภคได้ทดลอง และมีความมั่นใจในตัวสินค้าจนกระทั่งเกิดความจงรักภักดีกับสินค้า เพื่อสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดให้มากที่สุด กลยุทธ์ที่ใช้ในช่วงนี้ได้แก่ การใช้สื่อ พนักงานขาย ณ จุดขายต่างๆ จัดการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นการซื้อซ้ำ เช่น การให้คูปองลดราคาเมื่อซื้อชิ้นต่อไป
3. ช่วง Maturity เป็นช่วงที่ต้องทำกำไรสูงสุด และในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันส่วนแบ่งทางการตลาดไว้ จึงต้องตอกย้ำความมั่นใจในสินค้าแก่ลูกค้าเป็นระยะๆ หรือออกสินค้าที่ปรับปรุงดัดแปลง (minor change) เพื่อแสดงถึงการพัฒนาสินค้าอยู่เสมอ ภายใต้จุดเด่นเดิมของสินค้า และเพื่อสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ
4. ช่วง Decline เป็นช่วงที่มียอดขายและกำไรตกต่ำ จึงต้องเน้นการขายออกให้เร็ว ให้ได้มากที่สุดก่อนจะออกจากตลาดไป กลยุทธ์ที่ใช้ในช่วงนี้ได้แก่ กลยุทธ์ด้านราคา เช่น การลดราคาลงกลยุทธ์โดยทั่วไปในการทำ Promotion เมื่อพิจารณาถึง Product Life Cycle


 





The Marketing Plan Process


 
Stages of marketing planning


Typical to most marketing planning are a series of stages that are usually followed in the sequence outlined below. Of course each organisation will adapt their marketing planning to suit their own unique set of circumstances so the following should be seen as a guideline only.
ission Statement
All businesses should be able to say concisely what their main reason for existing is, to define their purpose. This should be accessible to all of the company's stakeholders (that is people who have an interest in the organisation), indeed today many companies display a mission statement in their Head Office.
The Royal National Lifeboat Institution for example has decided its overall mission can be summed up with this: 'To save lives at sea'. Of course many organisations may not be able to sum up their purpose quite so easily but all should develop a straightforward statement of some sort. They should, according to McDonald (2001) define the business the organization operates in and refer to the company’s distinctive abilities (things it can do better than others). Many of the most useful mission statements are motivating to staff and customers.
To get an idea about what mission statements look like you might visit some of the following (note that they are not all labeled as mission statements, sometimes that are called "philosophy", or "aims")
Corporate objectives
The marketing department is a part of the company and so must 'fit in' with what the overall company is doing. As such it needs to appreciate what the corporate objectives are and ensure its own actions and decisions support the overall objectives. So what are corporate objectives?

A set of the most important goals the company wishes to attain in a given period of time, often one to five years. So they are concerned with the big important issues and are ways an organization makes explicit the targets (often financial) it has set for itself. For example, corporate objectives might be about return on investment; gearing; debt and investment finances or company growth. For an example of corporate objectives see Anglesey Council.
Mission statements and corporate objectives occur at an organisational level (i.e. the Board of Directors will usually determine them). The rest of the marketing planning process occurs within the marketing department. All of the actions the marketing department makes must be justified by referring to the companies' stated mission and corporate objectives.
Marketing Audit
To audit something is in effect to take stock. If for example you ran a retail shop and audited it you would count the different types of products you buy, sell and still have left on the shelves. So a marketing audit is a way of checking all aspects of the business directly related to the marketing department. It allows you to answer the question 'Where are we now?' As Baker (2000) says, it is an unbiased review of the companies marketing operations and the environments in which the company operates. This action is closely linked to section three (The Marketing Environment).

By answering the question "where are we now?" audits clarify what the real problems are. They should also highlight the strong and weak points of the organisation. Going through an audit process also prevents busy people from just doing urgent tasks and forces them to take a step back from the frantic day to day jobs (just occasionally) and question whether what they are doing is right.
SWOTSWOT stands for:
  • Strengths
  • Weaknesses
  • Opportunities
  • Threats
It is a way of organising the material and issues gathered in the marketing audit under four separate specific categories. To carry out a marketing audit well the findings need to be carefully considered by determining whether they are a current strength, weakness or potential opportunity, threat.
  • Strengths and Weaknesses relate to things inside the company (internal), things that can be directly controlled by the organisation. For example a leisure centre might consider its large swimming pool to be a strength whilst a zoo might think its lack of exotic animals is a weakness.
  • Opportunities and Threats relate to things outside the company (external), things the company does not control directly. For example a Pub might consider the soccer world cup to be an opportunity as they can show the games on a big screen and so attract customers. See also The Marketing Environment section.

Marketing Objectives and strategy
For marketing departments the objectives and strategies relate to the companies products/services and brands and to the markets you currently/ propose to operate in. By markets we mean the groups of consumers you intend to sell to and attract as your customers. So objectives are about deciding what you are offering (selling) and to whom. Strategies are about how you are going to achieve these things. These are also covered in more detail in The Marketing Environment section.


เรื่องแรกที่ต้องทำก็คือเข้าใจความต้องการของลูกค้า ทราบหรือไม่ว่าทำไมลูกค้าจึงได้ซื้อสินค้าหรือบริการ? ราคาที่ตั้งไว้เหมาะสมแล้วหรือยัง? ใช้วิธีแบบง่ายๆอย่างการลดราคาลงร้อยละ 20 ถึง 30 เมื่อลูกค้าเริ่มหดหายหรือสินค้าคงคลังเพิ่มสูงขึ้นใช่หรือไม่? ได้ตั้งเป้าเรื่องการตลาดหรือเป้ายอดขายในช่วง 12 เดือนข้างหน้าแล้วหรือยัง?   ไม่จำเป็นต้องใช้กราฟที่หวือหวาหรือที่ปรึกษาค่าตัวแพงมาพัฒนาแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพให้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีแผนอยู่ดี แผนงานทางการตลาดจะช่วยให้มองเห็นแนวทางที่ถูกต้องและขั้นตอนการลงมือทำงานต่างๆได้ แผนการตลาดสามารถช่วยได้
·         แยกแยะว่าลูกค้ากลุ่มใดคือกลุ่มเป้าหมายที่ดีที่สุด
·         เปรียบเทียบข้อมูลของบริษัทกับข้อมูลของอุตสาหกรรมหรือตลาด
·         คอยติดตามผลลัพธ์เพื่อที่จะได้เรียนรู้ว่าอะไรที่ใช้ได้ผลบ้าง

ถ้าหากไม่มีแผน อาจเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่อาจไปไม่ถูกทิศทางก็เป็นได้ ด้วยเหตุนี้จึงอยากแนะนำขั้นตอน 5 ประการที่จะช่วยให้สร้างแผนงานการตลาดที่ใช้งานได้อย่างแท้จริงขึ้นมาได้

     ขั้นตอนที่ 1: กำหนดจุดยืนของผลิตภัณฑ์้
      เจ้าของธุรกิจจำนวนมากสับสนเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย การโฆษณา และการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมต่างๆเหล่านี้เป็นช่องทางในการแจ้งข่าวสารหรือโครงการต่างๆออกไป ไม่ใช่การตลาดแต่อย่างใด การตลาดประกอบด้วยองค์ประกอบ 4P คือ

·         สินค้า (product): คุณมีสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมกับตลาดแล้วหรือยัง
·         ราคา (price): การขายสินค้าหรือบริการในปริมาณที่ทำให้กล่มลูกค้าเป้าหมายรู้สึกพอใจ
·         การส่งเสริมการขาย (promotion): การสร้างมุมมองที่เหมาะสมสำหรับช่องทางต่างๆ อาทิเช่นสิ่งพิมพ์ (จดหมาย ใบปลิว โบรชัวร์ และโปสการ์ด) โฆษณาทางทีวีหรือวิทยุ โฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร โฆษณาออนไลน์และอื่นๆอีกมาก
·         สถานที่ (place): ช่องทางการส่งสินค้าไปยังจุดที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายสามารถหาซื้อได้

         ถ้าหากเสนอสินค้าหรือบริการที่เหมาะสม ในราคาที่เหาะสม ให้แก่ลูกค้าที่เหมาะสมได้ นั่นแสดงว่าบรรลุเป้าหมายที่ต้องการแล้ว ต้องจำเอาไว้เสมอว่ายอดขายในปริมาณมากๆไม่ใช่กุญแจสำคัญแต่อย่างใด กำไรต่างหากคือกุญแจสำคัญ เป้าหมายของการทำตลาดก็คือการสร้างความสนใจที่นำไปสู่การขายที่ทำกำไรได้ ซึ่งนั่นก็คือเหตุผลที่ต้องวางนโยบายขึ้นมา ต้องการจัดส่งข่าวสารชี้ชวนไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย นอกจากนั้นยังต้องการข่าวสารที่ให้สัญญาในสิ่งที่สามารถจัดสรรให้แก่ลูกค้าได้อย่างแท้จริงเท่านั้นด้วย


     ขั้นตอนที่ 2 พึ่งพาความรู้ของคนที่คุณเชื่อใจ
      ถ้าหากต้องการกำหนดแผนการตลาดที่เหมาะสมสำหรับบริษัทให้จัดประชุมระดมสมองร่วมกับที่ปรึกษาที่คุณไว้วางใจ อาทิเช่นสมาชิกในครอบครัว เพื่อน พนักงาน หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ การประชุมอาจอยู่ในระหว่างการรับประทานอาหารกลางวันอย่างไม่เป็นทางการ หรือจัดประชุมนอกสถานที่อย่างเป็นทางการก็ได้ สิ่งที่ต้องทำก็คือจงอยู่ห่างจากโทรศัพท์ และจงอย่าคาดหวังว่าจะได้ทุกอย่างจากการประชุมแค่ครั้งเดียว โดยในระหว่างที่ทำการประชุม คุณต้องหาทางตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้

·         คุณจะขายสินค้าให้ใคร?
·         ลูกค้าเหล่านี้ต้องการอะไร?
·         อะไรที่ทำให้สินค้าหรือบริการของคุณแตกต่างจากคู่แข่ง?
·         กลยุทธทางการตลาดอะไรที่ทำให้สินค้าเป็นที่สนใจ?
·         จะทำการตลาดเมื่อไหร่และบ่อยครั้งขนาดไหน?
·         อีกหนึ่งปีคุณอยากให้บริษัทมีสภาพเป็นอย่างไร?

พิจารณาจัดประชุมโดยแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยๆดังกล่าวข้างต้น จากนั้นทำการกลั่นกรองแนวคิดและข้อเสนอที่ดีที่สุดออกมา เริ่มต้นโดยการจดบันทึกลงไปในกระดาษ อธิบายสภาพและขนาดของตลาดของคุณ การขายและช่องทางการจำหน่ายทำงานอย่างไร กลุ่มลุกค้าเป้าหมาย (อายุ รายได้ ที่อยู่และรูปแบบการซื้อ) และสินค้าของคุณเทียบกับคู่แข่งแล้วเป็นอย่างไรบ้าง
     ขั้นตอนที่ 3 รับฟังลูกค้า
      ขั้นต่อมา จำเป็นต้องทราบว่าลูกค้ามีปฏิกริยาต่อคุณภาพ ราคา บริการ การส่งสินค้า ภาพพจน์ และตราสินค้าของคุณอย่างไรบ้าง หรือกล่าวโดยสรุปก็คือมีปัจจัยอะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของพวกเขา  การที่จะรู้ว่าลูกค้าคิดอย่างไร คุณก็แค่ถามพวกเขาเท่านั้นเอง ทำการสำรวจความเห็นของลูกค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งลูกค้ากลุ่มใหม่ที่คุณต้องการเข้าถึง ทำการสอบถามทางโทรศัพท์ด้วยตนเองหรือส่งแบบสำรวจไปทางอีเมล์หรือไปรษณียบัตร มีการแจกของรางวัลบางอย่างเพื่อกระตุ้นให้มีผู้ตอบแบบสอบถามมามากๆ อาทิเช่นส่วนลดหรือตัวอย่างแจกฟรีเป็นต้น

     เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่มักรู้สึกแปลกใจเมื่อได้รับฟังความคิดเห็นจากลูกค้า ตัวอย่างเช่นบริษัทแห่งหนึ่งทราบจากแบบสอบถามว่ารีเซฟชันของตนพูดจาไม่ดีกับลูกค้าทางโทรศัพท์ คุณจะทราบเรื่องนี้ได้อย่างไร ถ้าหากคุณไม่ได้ถามลูกค้านำข้อมูลที่คุณได้รับมาทำการวิเคราะห์ SWOT ซึ่งเหมือนเป็นการชำแหละธุรกิจของคุณออกมาเป็นส่วนๆนั่นเอง

·         จุดแข็ง: อะไรที่ทำให้บริษัทของคุณประสบความสำเร็จ?
·         จุดอ่อน: อะไรคือจุดอ่อนของคุณ
·         โอกาส: สภาพตลาดแบบใดหรือตลาดเซกเมนท์ใดที่ช่วยให้บริษัทเติบโตได้?
·         ภัยคุกคาม: คู่แข่งมีผลกับคุณมากน้อยเพียงใด?

     ขั้นตอนที่ 4 ร่างแผนการขึ้นมา
      ในตอนนี้เมื่อมีรายละเอียดของลูกค้าและสภาพของตลาดแล้ว นั่นหมายความว่าคุณสามารถจัดทำแผนการตลาดขึ้นมาได้แล้ว แผนการไม่จำเป็นต้องเป็นเอกสารอย่างเป็นทางการ แต่ในแผนนี้อย่างน้อยต้องประกอบด้วยความเห็นที่ได้จากพนักงานหรือที่ปรึกษาภายนอก รวมทั้งเตรียมเอาไว้ใช้อ้างอิงในภายหลังด้วย แผนการควรประกอบด้วย

·         - สรุปสภาพตลาดและเป้าหมาย
·         - สิ่งที่คาดว่าจะทำให้สำเร็จในช่วงเวลาที่กำหนด
·         - รายการของตลาดเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยตลาดเซกเมนท์ต่างๆ รวมทั้งตลาดเฉพาะทางด้วย
·        -  นโยบายที่เหมาะสมสำหรับตลาดแต่ละเซกเมนท์
·        -  ค่าใช้จ่ายและทรัพยากร รวมทั้งวิธีการจัดสรร
·        - ช่องทางการทำตลาด ตรงจุดนี้คุณต้องเลือกประเภทของสื่อที่ใช้ในการทำตลาดและกลไกที่ใช้แจกจ่ายสื่อดังกล่าว
      - เพื่อดึงดูดลูกค้าเป้าหมาย อาทิเช่นใบปลิว ไปรษณียบัตร การทำตลาดทางอีเมล์ จดหมายข่าว เว็บไซต์และอื่นๆ
·         - นโยบายในการแข่งขัน คุณจะรับมือกับคู่แข่งได้อย่างไร? ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคู่แข่งลดราคาสินค้าของตนเองลง

     ขั้นตอนที่ 5: ติดตามผลลัพธ์
      ใส่การประเมินผลลงไปในแผนการของคุณด้วย ใช้การวัดผลดังกล่าวเพื่อดูว่ากิจกรรมการตลาดได้ผลหรือไม่ หรือควรคิดทบทวนแนวทางใหม่     คำนวณหมวดหมู่และค่าใช้จ่ายในการทำตลาดแต่ละช่องทาง จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับการคาดการณ์เรื่องยอดขาย
       ท้ายสุด ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นต้องเตรียมตัวอยู่เสมอ คุณต้องทบทวนแผนการเป็นประจำทุกปีเพื่อดูว่าจำเป็นตองปรับเปลี่ยนเป้าหมายใดๆหรือไม่